ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการภาค บันทึกเมื่อวันที่ Date: 13 พฤษภาคม 2565

รายงานผลการดำเนินงาน ตามนโยบายเร่งด่วน ระยะแรก (ก่อนเปิดเทอม) ครั้งที่ 2

รายงานผลการติดตามการขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

วันที่ 18 เมษายน 12 พฤษภาคม 2565  ระยะแรก (ก่อนเปิดเทอม) ครั้งที่ 2

หน่วยงาน   สำนักงานศึกษาธิการภาค 5    เขตตรวจราชการที่ 5

************************

 

1. โครงการพาน้องกลับมาเรียน (สพฐ. /กศน. /สช./สอศ.)

    ความก้าวหน้าการดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการ

            1. การสร้างการรับรู้ การขยายผลสร้างการรับรู้ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายตามโครงการ ดังนี้

            1) ประชุมบุคลากรในสำนักงานและผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัด เพื่อชี้แจง สร้างความเข้าใจในการขับเคลื่อนติดตามนำนักเรียนกลับเข้าสู่ระบบ ตามนโยบายของกระทรวง

            2) จัดทำแผนการดำเนินงาน แนวทางการบริหารจัดการ กำหนดบทบาทหน้าที่ มอบหมายงาน ในการกำกับ ติดตาม และดูแลช่วยเหลือผู้เรียนที่หลุดออกจากระบบการศึกษาและออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา     หรือหาทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาหรือผู้รับบริการ                     

            3) ประชาสัมพันธ์แผนและแนวทางการบริหารจัดการให้แก่ทุกภาคส่วนได้รับทราบ ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น เว็บไซต์ หน่วยงาน รายการพุธเช้าข่าว สพฐ. ทางกลุ่มไลน์ต่างๆ เช่น ผู้อำนวยการโรงเรียน ทีมบุคลากรทางการศึกษาผู้ปกครอง ชุมชน และเครือข่าย

            4) มีการจัดส่งคู่มือพาน้องกลับมาเรียนให้กับโรงเรียนทุกโรงในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

            5) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นฯ และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ จัดประชุมชี้แจงผู้บริหารโรงเรียนที่มีเด็กออกกลางคันและไม่ได้ศึกษาต่อ และลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงเรียนที่มีเด็กตกหล่นและออกกลางคัน

            6) แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามค้นหาเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา  เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนโยบาย ติดตาม ค้นหา ช่วยเหลือเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคัน ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา กรณี กศน.  มอบหมายให้ครู กศน.ตำบล ลงพื้นที่เพื่อติดตามผู้เรียนที่ตกหล่นจากระบบการศึกษา  และประชาสัมพันธ์ไปยังอาสาสมัคร กศน. ผู้นำท้องถิ่น เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลในการติดตามผู้เรียน

            7) มีแนวปฏิบัติและเชื่อมโยงสารสนเทศของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานอื่น เพื่อดำเนินการเชิงบูรณการ

            8) สร้างกลุ่มไลน์ ค้นหาเด็กตกหล่นและออกกลางคัน เพื่อใช้เป็นช่องทาง ในการติดต่อสื่อสาร สร้างการรับรู้ ตอบประเด็นคำถาม ติดตาม และประสานงานให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็ว ระหว่างโรงเรียน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

            9) คณะทำงานลงไปติดตามที่บ้านของเด็กที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ กลุ่มรอยต่อ จาก กสศ. โดยแนะนำผู้ปกครองให้ส่งบุตรเข้าเรียนในระบบ หรือการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กศน. และเชื่อมโยงสารสนเทศกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

            10) ส่งต่อให้นักเรียนเข้าเรียนที่ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอในพื้นที่เกี่ยวข้อง

   

 

 

            2. การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ 

                 2.1 ดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ ในระยะที่ 1 (วันที่ 30 มี.ค. - 14 เม.ย.65)

                 1) มีแนวปฏิบัติและเชื่อมโยงสารสนเทศของหน่วยงาน ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานอื่นเพื่อดำเนินการเชิงบูรณาการ โดยประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ,ศูนย์การศึกษาพิเศษ, สำนักงานทะเบียนราษฎร์อำเภอ องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาล  และสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน

                 2) ชี้แจง สร้างความเข้าใจ ประชาสัมพันธ์แผนและแนวทางการบริหารจัดการให้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมกาชุมชน และเครือข่าย เพื่อสร้างความเข้าใจในการติดตาม ค้นหา เด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคัน ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา

                 3) จัดทำคำสั่ง ประชุมมอบหมายภารกิจ และปฏิทินการปฏิบัติงาน คณะกรรมการ ติดตาม ค้นหาตกหล่นและเด็กออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา โครงการ “พาน้องกลับมาเรียน”

                 4) จัดตั้งศูนย์ประสานงานให้ความช่วยเหลือนักเรียน

                 5) ลงพื้นที่ขับเคลื่อนโครงการพาน้องกลับมาเรียนติดตามค้นหาเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา โดยใช้ Application “พาน้องกลับมาเรียน” เป็นเครื่องมือลงพื้นที่ สำรวจ ติดตาม ค้นหา นักเรียน/นักศึกษาที่หลุดระบบ และรายงานผลผ่านเว็บไซต์ http://dropout.edudev.in.th ร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เช่น ศูนย์การศึกษานอกระบบการศึกษาตามอัธยาศัย ศูนย์การศึกษาพิเศษ ฯลฯ ร่วมกันค้นหานักเรียนตกหล่นและเด็กออกกลางคัน ตามโครงการ พาน้องกลับมาเรียน ให้เข้าระบบการศึกษา และให้การช่วยเหลือมอบเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน  

                 6) ติดตามกลุ่มเป้าหมาย โดยจัดกิจกรรมเพื่อนชวนเพื่อนมาเรียน ร่วมกับภาคีเครือข่ายประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้านในพื้นที่ เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และแจ้งให้ครู กศน.ตำบลติดตามนักศึกษาเก่าที่ไม่ได้ลงทะเบียนเรียนเทอมที่ผ่านมาให้มาลงทะเบียนเรียนต่อในภาคเรียนปัจจุบัน

                 7) ประสานความร่วมมือระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดและอำเภอ เพื่อส่งต่อนักเรียนที่ไม่สามารถศึกษาในระบบได้

           

                 2.2 ความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ ในระยะที่ 2 (วันที่ 18 เม.ย.-12 พ.ค.65)

                 1) สถานศึกษา จัดตั้ง War Room  วิเคราะห์ข้อมูลจากระบบกำหนดแนวทางการให้ความช่วยเหลือนักเรียน

                 2) ลงพื้นที่ดำเนินการติดตามนักเรียนที่หลุดออกจากระบบการศึกษา และออกกลางคัน ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาในระบบ หรือให้มาสมัครเรียน กศน.หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ตามความประสงค์ หรือส่งต่อตามภูมินำเลาเดิมของนักศึกษา ในกรณีที่ติดตามและไม่พบตัวตน

                 3) ประสานงานกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อดูแลช่วยเหลือครอบครัวนักเรียนที่เข้าเรียน กศน./มีความต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ

                 4) บุคลากรกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่ฯ  ดำเนินการติดตามการดำเนินงานโครงการจัดสรรเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไข (นักเรียนทุนเสมอภาค) ปีการศึกษา 2564 และการพาน้องกลับมาเรียน เพื่อสร้างการรับรู้ การติดตามนักเรียน การดูแลช่วยเหลือ ของโรงเรียนในสังกัด

                 5) ตรวจสอบ ดูแลให้คำปรึกษาช่วยเหลือและนำเครื่องอุปโภคบริโภคไปให้ผู้มีปัญหาสุขภาพ

                 6) สรุปรายงานการเยี่ยมบ้านนักเรียนให้ผู้บริหารทราบและรายงานผลการดำเนินงานกับหน่วยงานต้นสังกัด

                 ความก้าวหน้าข้อมูลผลการปฏิบัติ (จำนวนผู้เรียน)

                 1) จำนวนผู้เรียนที่ตกหล่น 4,374  คน /จำนวนกลับเข้ามาเรียน  2,509  คน

                      - ติดตามพบตัว          3,505 คน

                      - ยังไม่ได้ติดตาม         348    คน

                      - ติดตามแล้วไม่พบตัว  521   คน

                      - พบตัว แต่ไม่อยู่ในรายชื่อ 2    คน

                 2) จำนวนผู้เรียนที่ได้รับการ “นำกลับ” ในระบบการศึกษาก่อนเปิดภาคเรียน 2,598  คน

                      คิดเป็นร้อยละ  67.01   (ของจำนวนผู้เรียนที่ตกหล่น)

                 3) จำนวนผู้เรียนที่ได้รับการ “ค้นหา” ในระบบการศึกษาก่อนเปิดภาคเรียน 3,506  คน

                      คิดเป็นร้อยละ 86.19  (ของจำนวนผู้เรียนที่ตกหล่น)

                 4) จำนวนผู้เรียนที่ได้รับการ “พัฒนา ส่งต่อ” ในระบบการศึกษาก่อนเปิดภาคเรียน 1,418  คน

                      คิดเป็นร้อยละ 59.79  (ของจำนวนผู้เรียนที่ตกหล่น)

                 5) การดำเนินการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย โดยการ

                      (1) แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงาน ทั้งระดับหน่วยงานและสถานศึกษา ในการส่งเสริม ติดตาม ช่วยเหลือนักเรียน ตรวจสอบข้อมูลผ่านระบบ โดยครูที่ปรึกษาติดต่อประสานกับผู้ปกครองและนักเรียน ดำเนินการการเยี่ยมบ้านนักเรียน

                      (2) ดำเนินการให้คำปรึกษาแก่นักเรียน ผู้ปกครอง ให้ความช่วยเหลือนำกลับเข้าระบบการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดต่าง ๆ  เช่น  กศน.  สช.  กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น  สอศ.  สถานศึกษาตามมาตรา 12  สพฐ. ฯลฯ และส่งเสริมการศึกษาด้านอาชีพที่สนใจ

                      (3) มีการตรวจสอบจำนวนภาคเรียนที่จะจบหลักสูตรว่าสามารถลงทะเบียนเรียนต่อหรือต้องสมัครเรียนใหม่ และมีการติดตาม นำเข้าสู่ระบบการศึกษา กศน.  ในกรณีที่ผู้เรียนต้องการศึกษาต่อ มีการแนะนำแนวทางในการวางแผนการจัดการศึกษา

                      (4) ดำเนินโครงการที่สนับสนุนนักเรียน นักศึกษามีรายได้ระหว่างเรียนและให้การช่วยเหลือด้วยการให้ทุนการศึกษาสำหรับนักเรียน นักศึกษา ที่ขาดแคลนนอกจากนั้นจัดกิจกรรมสอนเสริมเพื่อแก้ปัญหาผลการเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์

                      (5) ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความช่วยเหลือนักเรียนตามความต้องการจำเป็น จัดหาเครื่องอุปโภคบริโภค และทุนการศึกษา เงินช่วยเหลือสงเคราะห์ครอบครัวจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อมอบแก่ครอบครัวนักเรียน

                      (6) มีการดำเนินการจัดทำคลิปวิดีโอ Best practice และเผยแพร่ผ่าน social media โรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จในการผลการดำเนินงานนำเด็กตกหล่นและออกกลางคัน กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา

 

 

            3. ปัญหา อุปสรรค

            1) จากการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงเรียนที่มีเด็กตกหล่นและออกกลางคัน พบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจของครอบครัว พ่อแม่แยกทางกัน ไม่มีผู้ปกครองในการส่งเสียด้านการศึกษาต่อ การคมนาคมไม่สะดวก มีภาระต้องดูแลช่วยเหลือผู้ปกครองวัยชรา ปัญหาด้านสุขภาพไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และมีปัญหาในการปรับตัวในการเรียนออนไลน์ อุปกรณ์การเรียนออนไลน์ไม่พร้อม จึงทำให้นักเรียนไม่มีความพรอมและไม่สามารถกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาได้

            2) การติดตามตัวเด็กตกหล่นและออกกลางคันเป็นไปด้วยความยุ่งยาก เช่น ผู้ปกครองและนักเรียนย้ายที่อยู่ หาที่อยู่ไม่เจอ เจอบ้าน แต่ไม่พบตัว ผู้เรียนประกอบอาชีพต่างพื้นที่และต้องเดินทางบ่อย ผู้เรียนบางคนไม่ให้ข้อมูล ข้อมูลไม่ตรงกับความเป็นจริง เบอร์โทรไม่สามารถติดต่อได้ ขาดข้อมูลการติดต่อประสานงานกับนักเรียนและผู้ปกครอง นักเรียนเกี่ยวพันธ์กับความปลอดภัยเนื่องจากเชื่อมโยงกับกระบวนการยาเสพติด ฯลฯ ทำให้การติดตามผู้เรียนทำได้ยาก และเกิดความล่าช้า

            3) งบประมาณสนับสนุนไม่เพียงพอในการดูแลและช่วยเหลือนักเรียนได้ทั่วถึง อุปกรณ์การเรียนออนไลน์ไม่พร้อม

            4) นักเรียน นักศึกษาหลายคนไม่ต้องการกลับมาเรียน เนื่องจากต้องการทำงาน และมีปัญหาทางบ้าน

            5) ไม่สามารถปักหมุดได้เนื่องจากไม่มีสัญญาณ Internet

            6) โรงเรียนในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  เช่น  โรงเรียนราชประชานุเคราะห์  ยังไม่ได้รับแนวปฏิบัติหรือหนังสือสั่งการ  และยังไม่เคยได้รับข้อมูลจากการประชุมหรือการอบรมให้รับทราบถึงนโยบาย

            7) ไม่สามารถติดต่อผู้เรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายทหารกองประจำการที่มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ต่างจังหวัด

 

            4. ข้อเสนอแนะ

            1) ควรจัดทำข้อมูลการติดต่อนักเรียน นักศึกษาให้เป็นปัจจุบัน

            2) ข้อมูลการติดตามผู้เรียน พาน้องกลับมาเรียนควรเป็นข้อมูลปัจจุบัน

            3) ควรปรับปรุงและตรวจสอบข้อมูลเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคันจาก สพฐ. ในระบบ DMC เนื่องจากระบบตรวจสอบไม่ได้

            4) การดำเนินโครงการพานองกลับบานควรมีความยืดหยุนตามบริบทของแตละสถานศึกษา

            5) ประสานความร่วมมือกับสถานศึกษาเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และประสานสัมพันธ์กับภาคีเครือข่าย ในการขอสนับสนุนงบประมาณเพื่อช่วยเหลือนักเรียน

            6) การบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดนโยบายร่วมกันระหว่างกระทรวงในการดำเนินงาน ส่งเสริมการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา และป้องกันการหลุดออกจากระบบการศึกษา

            7) สร้างความตระหนักให้เห็นความสำคัญของการศึกษาและให้ทุนการศึกษาเพิ่มขึ้น

            8) การดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาสกลุ่มเป้าหมาย ควรให้สถานศึกษาพิจารณาดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ โดยจัดการศึกษาตามสภาพแวดล้อมที่มีความเป็นไปได้

            9) ต้องดูแลความพร้อมของผู้ปกครองว่ามีค่าใช้จ่ายเพียงพอหรือไม่ เด็กหลายๆ คน ไม่สามารถเรียนผ่านระบบออนไลน์ เนื่องจากขาดแคลนอุปกรณ์การเรียนหรือทรัพยากรที่จำเป็นในการศึกษา

            10) ควรมีหลักสูตรด้านอาชีพ สำหรับนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสที่มีความประสงค์จะศึกษาต่อสายอาชีพ เพื่อประกอบอาชีพในโอกาสต่อไป หากไม่ประสงค์จะศึกษาต่อเมื่อจบการศึกษาภาคบังคับ

            11) การติดตามนักเรียนต่างด้าว (พม่า ลาว) มีการย้ายถิ่นฐานกลับประเทศ โดยไม่แจ้งนายจ้าง เจ้าพนักงาน ควรยกเว้นการติดตาม

 

            5. ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการดำเนินงาน

            1) ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นฯ  ผู้บริหารโรงเรียน และครู ตระหนักและให้ความสำคัญกับการศึกษาส่งเสริมโอกาสความเสมอภาคและความเท่าเทียม และนำนโยบาย พาน้องกลับมาเรียนสู่การปฏิบัติได้จริง

            2) มีการวางแผนการดำเนินงานโครงการที่ดี นโยบายที่ปฎิบัติได้ และมีงบประมาณสนับสนุนเพียง

            3) ครูที่ปรึกษาได้ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านนักเรียนที่ตกหล่นทุกคน

            4) การรับรู้นโยบาย และนำไปปฏิบัติทันที โดยการขยายผลลงสู่สถานศึกษา และดำเนินการติดตามเด็กตกหล่นและออกกลางคัน

            5) สถานศึกษามีโครงการดูแลช่วยเหลือนักเรียน  โดยการให้ครูผู้สอนแต่ละวิชามีการวิเคราะห์ผลการเรียนเป็นรายบุคคล และรายงานครูที่ปรึกษาเพื่อติดตาม ดูแล และให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นรายบุคคล

            6) สถานศึกษาร่วมมือกับครูผูสอนแตละวิชามีการวิเคราะหผลการเรียนผูเรียนเปนรายบุคคล และรายงานครูที่ปรึกษาเพื่อติดตาม ดูแล และใหความชวยเหลือในเบื้องตน

            7) สถานศึกษามีการจัดประชุมผูปกครองเพื่อการแกปญหาผูเรียนเปนรายบุคคล

            8) ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาคีเครือข่าย ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ผู้นำท้องถิ่นและท้องที่ รวมถึงผู้ปกครองและนักเรียน เข้ามามีบทบาท ในการสร้างโอกาสทางการศึกษาร่วมกับสถานศึกษา หน่วยงานการศึกษา ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

            9) ใช้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในการติดตามค้นหาเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคันเป็น รายบุคคลในรูปแบบ Application พาน้องกลับมาเรียนผ่าน https://dropout.edudev.in.th  เป็นเครื่องมือในการติดตามและรายงานผล      

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2. โครงการ กศน.ปักหมุด

    ความก้าวหน้าการดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการ

            1. การสร้างการรับรู้ การขยายผลสร้างการรับรู้ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายตามโครงการ ดังนี้

            1) จัดประชุมชี้แจง โครงการ กศน. ปักหมุด คนพิการ เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาส วางแผนมอบหมายการดำเนินโครงการร่วมกับสถานศึกษาในสังกัด ให้สถานศึกษาตระหนักถึงการช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายตามความรับผิดชอบในส่วนที่สถานศึกษาสามารถดำเนินการได้ทั้งทางด้านการศึกษาและด้านอาชีพ เพื่อให้ผู้พิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในวาระการประชุมผู้บริหารและบุคลากร สำนักงาน กศน.

            2) ขยายผลสร้างการรับรู้กับผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรในสังกัดการการดำเนินงาน เพื่อติดตามผู้เรียนนำกลับสู่ระบบการศึกษา

 

            2. การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ 

                 2.1 ดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ ในระยะที่ 1 (วันที่ 30 มี.ค. - 14 เม.ย.65)

                 1) มีการจำแนกความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ได้รับการศึกษาออกเป็น 3 ประเภท คือ ความต้องการด้านการศึกษา ด้านอาชีพ และด้านงบประมาณ

                 2) ได้ดำเนินการส่งข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และองค์การบริหารส่วนจังหวัด

                 3) มอบหมายให้สถานศึกษาจัดแผนการศึกษากับผู้พิการ ที่ต้องการศึกษากับกศน.ลงทะเบียนในภาคเรียนที่ 1/2565

                 4) ของบประมาณเพื่อสนับสนุนการประกอบอาชีพให้กับผู้พิการและครอบครัวจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

                 5) ลงพื้นที่สำรวจ ปักหมุด ของกลุ่มเป้าหมายแต่ละตำบลโดยการประสานงานกับผู้นำ และเครือข่ายในพื้นที่

                 6) ออกสำรวจเยี่ยมบ้านคนพิการตามรายชื่อที่แจ้งมาตามแบบฟอร์มที่กำหนดและปักหมุด บันทึกข้อมูลในระบบสารสนเทศ caper

 

                 2.2 ความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ ในระยะที่ 2 (วันที่ 18 เม.ย. - 12 พ.ค.65)

                 1) สำรวจความต้องการการศึกษาต่อใหม่ เพื่อติดตาม กศน.ปักหมุด เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาส โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่จบการศึกษา/กำลังศึกษาอยู่สถานศึกษาอื่น และกลุ่มเป้าหมายสู่ระบบการศึกษา กศน. และสำรวจกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมการศึกษาด้านอาชีพ

                 2) มอบหมายให้สถานศึกษาติดตามการจัดการศึกษาให้กับผู้พิการที่ต้องการศึกษากับ กศน. ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 อย่างมีคุณภาพและเหมาะสมกับสภาพความพร้อมของแต่ละบุคคล และให้สถานศึกษาจัดการส่งเสริมด้านอาชีพให้กับกลุ่มเป้าหมายในความรับผิดชอบในส่วนที่สามารถดำเนินการได้

                 3) ประสานกับผู้นำในพื้นที่ในการดูแลเบื้องต้นเพื่อส่งมอบไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป  และให้คำแนะนำให้กลุ่มเป้าหมายคนพิการเข้ารับการศึกษาทั้งในระบบและการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

                 ความก้าวหน้าข้อมูลผลการปฏิบัติการติดตามกลุ่มเป้าหมาย (จำนวนคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส)

                 1. กลุ่มเป้าหมาย จำนวน  5,581  คน

                      - กลุ่มเป้าหมายที่ติดตามพบตัว จำนวน  5,049  คน

                      - กลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ได้ติดตาม จำนวน  -  คน

                      - กลุ่มเป้าหมายที่ติดตามแล้วไม่พบตัว จำนวน 532 คน

                      - กลุ่มเป้าหมายที่เสียชีวิต         219    คน

                      - กลุ่มเป้าหมายที่จบการศึกษา/กำลังศึกษาอยู่สถานศึกษาอื่น         23      คน

                 2. กลุ่มเป้าหมาย “นำเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล” ก่อนเปิดภาคเรียน         2,953  คน 

                      คิดเป็นร้อยละ  65.60  (ของกลุ่มเป้าหมาย)

                 3. กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการ “พัฒนา ส่งต่อ” เข้าสู่ระบบการศึกษาก่อนเปิดภาคเรียน 710 คน

                      คิดเป็นร้อยละ 50.20 (ของกลุ่มเป้าหมาย)

                 4. การดำเนินการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย มีการดำเนินการ ดังนี้

                      1) สำนักงาน กศน. ได้มอบหมายภารกิจ ให้สถานศึกษา ดำเนินการพัฒนา กลุ่มเป้าหมายทั้ง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ต้องการศึกษาต่อและกลุ่มเป้าหมายที่มีความต้องการพัฒนาอาชีพให้สามรถเข้าสู่ระบบการศึกษาโดยให้เป็นไปตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

                      2) ดำเนินการส่งข้อมูลความต้องการช่วยเหลือของผู้พิการไปยังสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และองค์การบริหารส่วน 

                      3) สถานศึกษาจัดทำแผนการศึกษากับผู้พิการที่ต้องการศึกษากับ กศน. ลงทะเบียนในภาคเรียนที่ 1/2565

                      4) ของบประมาณเพื่อสนับสนุนการประกอบอาชีพให้กับผู้พิการและครอบครัวจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

 

            3. ปัญหา อุปสรรค

            1) ในการลงพื้นที่ หาที่อยู่ไม่เจอ/ เจอบ้าน แต่ไม่พบตัว ผู้เรียนบางคนไม่ให้ข้อมูล / ข้อมูลไม่ตรงกับความเป็นจริง ข้อมูลที่อยู่ของผู้พิการบางคนไม่ปรากฏในทะเบียนราษฎร์ ข้อมูลไม่เป็นปัจจุบัน ไม่ได้รับความร่วมมือในการให้ข้อมูลจากญาติหรือผู้ดูแลกลุ่มเป้าหมาย ทำให้การติดตามผู้เรียนสำหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาส ทำได้ยาก

            2) การให้ความอนุเคราะห์ของครอบครัวผู้พิการ ถูกจำกัดในแง่ของสิทธิส่วนบุคคล ผู้ปกครอง
ไม่ประสงค์ให้ข้อมูล ด้วยเหตุผลเฉพาะบุคคล ทำให้ข้อมูลที่ได้จากการดำเนินการสำรวจ ไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร

            3) การสำรวจข้อมูลคนพิการ ในช่วงสถานการณ์โควิด ไม่สามารถดำเนินงานได้เต็มรูปแบบ ไม่สะดวกในการลงพื้นที่ เนื่องจากต้องเฝ้าระวังไม่ให้มีการติดเชื้อระบาดเพิ่มขึ้น

 

            4. ข้อเสนอแนะ

            1) ข้อมูลการติดตามผู้เรียน “กศน.ปักหมุด” ควรเป็นข้อมูลปัจจุบัน

            2) งบประมาณสนับสนุนในการประกอบอาชีพให้กับกลุ่มเป้าหมายผู้พิการจากส่วนกลาง

            5. ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการดำเนินงาน

            ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการดำเนินโครงการที่พบ ดังนี้

            1) ผู้บริหารตระหนักและให้ความสำคัญกับการศึกษาส่งเสริมโอกาสความเสมอภาคและความเท่าเทียม เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาส และนำนโยบาย กศน.ปักหมุดสู่การปฏิบัติได้จริง

            2) มีการวางแผนการดำเนินโครงการ กศน.ปักหมุด ร่วมกับสถานศึกษาอย่างชัดเจน ตั้งแต่กระบวนการลงพื้นที่เก็บข้อมูล การประสานงานและการบันทึกข้อมูล ไปจนถึงการสรุปข้อมูลจำแนกความต้องการของผู้พิการ โดยดำเนินการให้ความช่วยเหลือในส่วนที่กศน.สามารถดำเนินได้ และส่งต่อความช่วยเหลืออื่นไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

            3) มีการอบรมขยายผลการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ CAPER และติดตามผลการขับเคลื่อนนโยบาย กศน. ปักหมุด เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาส การใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ CAPER ระดับระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบล

            4) ครูผู้รับผิดชอบกศน.ตำบลแต่ละแห่งลงพื้นที่เก็บข้อมูลจริงทุกคน

            5) ได้รับความร่วมมือจากเครือข่าย ผู้นำชุมชน อสม ในการออกสำรวจและสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานกับกลุ่มเป้าหมาย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3. โครงการโรงเรียนคุณภาพ

    ความก้าวหน้าการดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการ

            1. การสร้างการรับรู้ การขยายผลสร้างการรับรู้ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายตามโครงการ ดังนี้

            1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดประชุมชี้แจงแนวทางการจัดทำแผนการขับเคลื่อนของโรงเรียนคุณภาพ โดยมีผู้บริหารโรงเรียนคุณภาพ โรงเรียนเครือข่าย และโรงเรียนขนาดเล็กปีการศึกษา 2564 เข้าร่วมการประชุม เพื่อรับนโยบายและแนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณภาพ โดยที่ประชุมได้มีการทบทวนพิจารณาโรงเรียนเครือข่ายใหม่ เพื่อเป็นไปตามเป้าหมายที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด

            2) สถานศึกษาดำเนินการประชุมชี้แจง สร้างความเข้าใจกับผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานในพื้นที่ให้เกิดการรับรู้เข้าใจ และให้การสนับสนุนในการดำเนินงานของโรงเรียนคุณภาพ สร้างการรับรู้การดำเนินการของโรงเรียนหลักและโรงเรียนเครือข่ายตาม Timeline การดำเนินการขับเคลื่อน

            3) มีการจัดทำแผนการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

            4) ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพของกระทรวงศึกษาธิการเป็นระยะๆ ในหลากหลายช่องทาง เช่น ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านระบบออนไลน์ ในการประชุมที่มีผู้อำนวยการสถานศึกษาเข้าร่วมประชุม การประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ การประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา สภากาแฟสัญจร การแนะแนวการศึกษาต่อ  ประชาสัมพันธ์ผ่านเวปไซต์โรงเรียน/เพจเฟชบุ๊คโรงเรียน เป็นต้น

            5) ลงพื้นที่จริงเพื่อศึกษาสภาพปัญหา การดำเนินการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพ นำไปสู่การแก้ปัญหาการเรียนรวมโรงเรียนคุณภาพ

            6) โรงเรียนคุณภาพจัดอบรมพัฒนาการเรียนรู้ห้องเรียนออนไลน์(แก่ครู) จัดการอบรมสถานศึกษาปลอดภัย

 

            2. การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ 

                 2.1 ดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ ในระยะที่ 1 (วันที่ 30 มี.ค. - 14 เม.ย.65)

                 1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการทบทวนและจัดทำภารกิจขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพ โดยได้ดำเนินการทบทวนภารกิจที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการ ตามประเด็น ดังนี้ ทบทวนคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพ  ทบทวนรายชื่อโรงเรียนคุณภาพ และโรงเรียนเครือข่าย โดยให้ สพท.ยืนยันข้อมูล  ทบทวนการกำหนดจุดโรงเรียนคุณภาพ และจัดทำแผนที่ในภาพรวมจังหวัด วิเคราะห์อัตรากำลังนักเรียน ครู ผู้บริหาร ของโรงเรียนคุณภาพ จัดทำแผนการเรียนรวมของโรงเรียนคุณภาพ จัดทำแผนขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพ ประกอบด้วย แผนการบริหารจัดการด้านบุคลากร (ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา) การบริหารจัดการด้านงบประมาณ และการบริหารจัดการด้านวิชาการ ทบทวนการกำหนดจุดพื้นที่สร้างบ้านพักครู 1 อำเภอ 1 จุด ระบุจำนวนครู พร้อมรายชื่อผู้ต้องการเข้าพัก จัดทำลำดับเวลา (Time line) ในการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพ และโรงเรียนเครือข่ายของ สพท.  จัดทำโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณค่าพาหนะในการเดินทางไปเรียนรวม  จัดทำโครงการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรงเรียนคุณภาพให้กับผู้บริหารโรงเรียนคุณภาพ และโรงเรียนเครือข่าย จัดทำโครงการพัฒนาตามนโยบาย 8 จุดเน้นให้กับโรงเรียนคุณภาพและจัดทำปฏิทินออกนิเทศ ติดตาม การขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพ

                 2) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้ดำเนินการส่งเสริมให้โรงเรียนคุณภาพในสังกัด จัดทำแผนการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษา และแผนรองรับนักเรียนของโรงเรียนคุณภาพระดับมัธยม ในปีการศึกษา ๒๕๖๕  โดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพ เพื่อสร้างการรับรู้ และร่วมกันจัดทำแผนขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพ ประกอบด้วยแผนการบริหารจัดการด้านบุคลากร  (ทบทวนแผนการบริหารอัตรากำลังโรงเรียนคุณภาพ ระดับมัธยมศึกษา) แผนการบริหารด้านงบประมาณ แผนการบริหารด้านวิชาการ (ข้อมูลการรองรับนักเรียนของโรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษา)

                 3) โรงเรียนหลักและโรงเรียนเครือข่ายประชุมร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อหารือ แนวทางพัฒนา การแก้ปัญหา และการดำเนินการตามแผน

                 4) โรงเรียนบางแห่งได้ดำเนินการวางแผนปรับปรุงห้องวิทยาศาสตร์และปรับปรุงห้องพิเศษเพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดเรียน

 

                 2.2 ความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ ในระยะที่ 2 (วันที่ 18 เม.ย. - 12 พ.ค.65)

                 ๑) มีขับเคลื่อนแผนเรียนรวมของโรงเรียนคุณภาพ ระดับประถมศึกษา โดยการจัดทำหลักสูตร จัดตารางเรียน ร่วมกับโรงเรียนเครือข่าย เพื่อนำนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 มาเรียนและเป็นการใช้ทรัพยากรร่วมกันในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565

                 2) ร่วมประชุมการขับเคลื่อนในระดับสถานศึกษาร่วมกับคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน ครู ผู้ปกครอง ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตัวแทนประชาชน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และจัดทำแผนในการดำเนินงานการเรียนรวมของโรงเรียนคุณภาพ และโรงเรียนเครือข่าย

                 3) นิเทศ ติดตาม การเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนของโรงเรียนคุณภาพ และโรงเรียนเครือข่าย

                 4) คณะทำงานติดตามการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพเชิงประจักษ์  ในการการดำเนินการตามแผนการเรียนรวม และการดำเนินกิจกรรมตาม Time Line และข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)

                 5) โรงเรียนดำเนินการเตรียมความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานของสถานศึกษาในการเป็นโรงเรียนคุณภาพ ด้านอาคารสถานที่ ปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบ ห้องเรียน ประตู หน้าต่าง ชั้นวางสื่อ อุปกรณ์ต่างๆ ทุกห้องเรียน สำรวจความพร้อมเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ จอโปรเจคเตอร์  โทรทัศน์ ระบบสัญญาณอินเตอร์เน็ตให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของโรงเรียน ระบบไฟฟ้า ฯลฯ  พัฒนาบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ห้องปฏิบัติการครอบคลุมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ปรับปรุงห้องสมุดให้มีสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย  พร้อมใช้ในการสืบค้น ด้านสภาพแวดล้อม ดำเนินการปรับสภาพแวดล้อมให้สะอาด  ปลอดภัย  บรรยากาศร่มรื่น รวมถึงศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

                 6) จัดทำหลักสูตรเพิ่มเติมวิชาภาษาจีนและวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และจัดตารางเรียนเพื่อนำนักเรียนมาเรียน ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรร่วมกันของโรงเรียนคุณภาพและโรงเรียนเครือข่าย และสร้างความเข้าใจกับผู้อำนวยการโรงเรียน เพื่อวางแผนการจัดการเรียนการสอนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565

                 7) ดำเนินการวางแผนโดยใช้งบประมาณโรงเรียนคุณภาพ จัดประชุมร่วมกับโรงเรียนเครือข่าย ในการจัดงบประมาณร่วมกัน เพื่อจ้างพาหนะรับส่งนักเรียน ซึ่งมาเรียนเฉพาะวิชาภาษาจีน และ วิชาภาษาอังกฤษ สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง/วิชา

                 8) ส่งเสริมให้ครูออกแบบการเรียนรู้แบบActive Learning ผู้บริหารสถานศึกษา ประชุมคณะครู ผู้เกี่ยวข้อง และนิเทศ ติดตาม ครูทุกคน ในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning  การเตรียมสื่อใช้สื่อการเรียนการสอน การใช้แหล่งเรียนรู้ ที่มีอยู่ในโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนได้เรียนโดยการลงมือปฏิบัติจริง และนิเทศ ติดตาม การเตรียมความพร้อมอย่างต่อเนื่อง

                 9) สร้างความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการจัดทำแผนการเรียนรวมของโรงเรียนเครือข่ายที่เข้าแผนการเรียนรวมในปีการศึกษา 2565

                 10) โรงเรียนหลักและโรงเรียนเครือข่ายระดมทุน และร่วมกันปรับปรุงภูมิทัศน์โรงเรียนหลัก เตรียมการจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนเครือข่าย และวางแผนการเดินทางของนักเรียนที่ไปเรียนรวม

                 11) ดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ในห้องเรียน I Classroom ตามโครงการพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

                 ความก้าวหน้าของข้อมูลการขับเคลื่อน

                      - กลุ่มเป้าหมาย         173 แห่ง

                      - มีโรงเรียนเครือข่ายที่มาเรียนรวมกับโรงเรียนคุณภาพจำนวน       45      แห่ง

                          คิดเป็นร้อยละ      52.61  (ของกลุ่มเป้าหมาย)

                      - เครือข่ายที่มาเรียนรวมบางรายวิชาจำนวน       85      แห่ง

                           คิดเป็นร้อยละ      74.46  (ของกลุ่มเป้าหมาย)

                      - ระดับมัธยมศึกษามีนักเรียนมาเรียนเพิ่มขึ้นในปีงบประมาณ 2565 ร้อยละ 31.06

                 โรงเรียนคุณภาพได้รับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 8 จุดเน้น ดังนี้

                      1) วางแผนและจัดทำโครงการพัฒนาตามนโยบาย 8 จุดเน้น

                      2) ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ให้เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาและสภาพความต้องการของโรงเรียน ชุมชน ผู้ปกครอง และสภาพของผู้เรียน

                      3) พัฒนาครูผ่านช่องทางการอบรมต่าง ๆ ในจัดการเรียนการสอนที่เน้น Active Learning/STEM Education การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ การจัดการเรียนรู้หน้าที่พลเมือง วิทยาการคำนวณ  การอ่านขั้นสูง ความฉลาดรู้ ตามแนว PISA การใช้สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน การใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และพัฒนาครูวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้และการวัดประเมินผลเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนสำหรับโรงเรียนคุณภาพ

                      4) ผู้บริหาร ครูและบุคคลากรมีความเข้าใจ และนำกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจ โดยเฉพาะในการส่งเสริมหลักสูตรการเรียนการสอน ในการส่งเสริม สนับสนุนครูด้านการจัดการเรียนการสอน ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) การจัดการเรียนรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล และการจัดการเรียนการสอนบูรณาการท้องถิ่นและอาชีพ เพื่อพัฒนาโรงเรียนคุณภาพให้มีประสิทธิภาพ เป็นโรงเรียนต้นแบบ     

                      5) บูรณาการ และวางแผนการนิเทศ ติดตามการดำเนินการจัดกิจกรรมตามนโยบาย ๘ จุดเน้น ของ สพฐ.

                      6) ส่งเสริมการรับรู้และการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอก

                      7) บุคลากรได้รับการพัฒนาประชุมชี้แจงการจัดทำระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                      8) โรงเรียนคุณภาพได้พัฒนาครูวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้และการวัดประเมินผลเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนสำหรับโรงเรียนคุณภาพ

                      9) ดำเนินการให้โรงเรียนมีความปลอดภัยมากขึ้น มีการจัดสรรงบประมาณทั้งงบลงทุน ครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้างสำหรับโรงเรียนคุณภาพ

 

            3. ปัญหา อุปสรรค

            1) ผู้ปกครอง ชุมชน ครู บุคลากรของโรงเรียน ยังขาดความมั่นใจในแนวทางการดำเนินการและการจัดการเรียนรวมของโรงเรียนคุณภาพและการดำเนินนโยบายไปสู่ความสำเร็จอย่างจริงจังของภาครัฐ เนื่องจากส่วนใหญ่ยังมีความรู้ความเข้าใจว่าเป็นเรื่องเดียวกันกับการยุบรวมโรงเรียนตามแผน การบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก และนโยบายเปลี่ยนไปตามบุคคลของหน่วยเหนือ ขาดความเสถียร และยั่งยืน

            ๒) การจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2550 หมวดที่ ๒ การรวมสถานศึกษา ข้อ ๑๐ ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาให้ความเห็นชอบการรวมสถานศึกษา โดยให้มีผลก่อนวันเริ่มต้นปีการศึกษา ไม่น้อยกว่า หนึ่งร้อยแปดสิบวัน  ซึ่งตามระเบียบไม่สามารถดำเนินการได้ หากไม่มีแนวทางการดำเนินการของโรงเรียนคุณภาพ ให้สามารถดำเนินการได้

            3) การเดินทางมาเรียนของนักเรียนโรงเรียนเครือข่ายไปโรงเรียนหลักในส่วนของการขอสนับสนุนค่าพาหนะรถรับส่งตามอัตราที่จัดสรรไม่เพียงพอและไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน และสภาพพื้นที่ของแต่ละเครือข่าย

            4) ไม่สามารถดำเนินการตามแผนการเรียนรวมได้เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอัตรากำลังครูในโรงเรียนเครือข่าย

            5)  โรงเรียนเครือข่ายมองว่าโรงเรียนคุณภาพยังไม่มีความพร้อมเรื่องโครงสร้างพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนไม่เพียงพอ ขาดแคลนอาคารเรียนที่จะรองรับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้น สื่อเทคโนโลยียังไม่เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน การจัดหา โต๊ะ เก้าอี้นักเรียนให้กับนักเรียนโรงเรียนเครือข่าย

            6) บุคลากรในโรงเรียนยังไม่ครบตามอัตราที่กำหนด

            7) การขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพ โดยที่ยังไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณมาพัฒนาเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ทำให้การดำเนินงานล่าช้าและไม่เป็นไปตามแผน การพัฒนาคุณภาพด้านต่าง ๆ ยังไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ขาดงบประมาณที่ชัดเจนในการจ้างครูผู้สอนภาษาอังกฤษชาวต่างชาติหรือชาวไทย

            8) ผู้บริหารและครูโรงเรียนเครือข่ายยังมีความกังวลเรื่องการยุบเลิกโรงเรียน

            9)  โรงเรียนยังไม่มีความรู้ความเข้าใจของการดำเนินการโรงเรียนคุณภาพ

            10) ผู้ปกครองนักเรียนยังกังวลเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ระหว่างโรงเรียนคุณภาพ และโรงเรียนเครือข่าย

 

 

            4. ข้อเสนอแนะ

            1) ควรกำหนดนโยบายโรงเรียนคุณภาพ ให้เป็นระเบียบ หรือกฎหมายที่ชัดเจน ให้สถานศึกษาถือปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด เพื่อแก้ปัญหาด้านความมั่นใจในการดำเนินงานโรงเรียนคุณภาพ

            2)  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรกำหนดตัวชี้วัดแนวทางการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพ ให้เป็นระบบ มีแนวทางการพัฒนาที่ชัดเจน

            3) ต้นสังกัดควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนคุณภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพและสร้างความโดดเด่นด้านวิชาการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครอง ชุมชน และโรงเรียนเครือข่าย

            4) ควรมีการจัดสรรตำแหน่งครูผู้สอนภาษาอังกฤษชาวต่างชาติให้เต็มปีการศึกษาหรือระยะเวลาการจ้างครั้งละ 12 เดือน

            5) ควรจัดทำคู่มือ หรือแนวทางการดำเนินการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพ เพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียนคุณภาพ ใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินการ

            6) การจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานให้กับโรงเรียนคุณภาพอย่างชัดเจนและเร่งด่วน เพื่อให้โรงเรียนได้พัฒนาตามแผนการขับเคลื่อนโรงเรียนได้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น การจัดสรรค่าพาหนะในการเดินทางมาเรียนรวมควรมีการจัดสรรก่อนเปิดภาคเรียนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครองและครูในโรงเรียนเครือข่าย และควรจัดสรรวงเงินค่าพาหนะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจุบันคนละ ๑๐, ๑๕, ๒๐ บาท ผู้ปกครองคิดว่าน้อยเกินไป ไม่สามารถหาผู้รับจ้างนำนักเรียนไปเรียนที่โรงเรียนคุณภาพได้ ควรจัดสรรงบประมาณรายการครุภัณฑ์รถตู้ให้กับโรงเรียนคุณภาพ

 

            5. ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการดำเนินงาน

            1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีความชัดเจนในการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ  ดำเนินการสื่อสารสร้างการรับรู้โครงการอย่างมีคุณภาพ

            2) ผู้บริหารสถานศึกษามีวิสัยทัศน์และมีความมุ่งมั่นที่จะร่วมกันพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

            3) การสร้างความรู้ความเข้าใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งในระดับเขตพื้นที่การศึกษาระดับสถานศึกษา องค์กรที่เกี่ยวข้อง และชุมชนที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินการโรงเรียนคุณภาพ

            4) มีรูปแบบแผนงาน และระเบียบ หรือกฎหมายรองรับการดำเนินงานโรงเรียนคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรม มีคณะกรรมการระดับจังหวัดมาดำเนินการในการขับเคลื่อน ซึ่งมาจากระเบียบ หรือกฎหมาย โดยเฉพาะของการยกระดับโรงเรียนคุณภาพ

            5) นโยบายที่เข้มแข็ง ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

            6) โรงเรียนหลักได้รับงบประมาณสนับสนุนเพียงพอ รวดเร็วสำหรับการบริหารจัดการ มีความชัดเจนในการจัดสรรงบประมาณต่างๆ ที่ใช้ในการยกระดับ พัฒนา ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้มีความพร้อมเพื่อให้มีความแตกต่างจากโรงเรียนทั่วไปเพื่อเป็นจุดสนใจในการมาเรียนรวม

            7) ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เพียงต่อการจัดการเรียนการสอน

            8) ส่งเสริม สนับสนุนโรงเรียนคุณภาพ ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 8 จุดเน้น รวมถึง ภาพลักษณ์ของโรงเรียน ให้ผู้ปกครองนักเรียนมั่นใจในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนคุณภาพ

            9)  การติดตามการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง

4. โครงการอาชีวะ อยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ

    ความก้าวหน้าการดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการ

            1. การสร้างการรับรู้ การขยายผลสร้างการรับรู้ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายตามโครงการ ดังนี้

            1) มีการประชาสัมพันธ์แจ้งข้อมูล แนะแนวการศึกษา โครงการอาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส  โรงเรียนมัธยม ที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓  เช่น วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี มีการประชาสัมพันธ์ให้กับนักเรียน และผู้ปกครองที่ประกอบอาชีพเกษตรกรให้มีการรับทราบข้อมูล เพื่อให้บุตรหลานมาเรียนในโครงการนี้

            2) ได้ขอความอนุเคราะห์ให้ผู้นำชุมชน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน องค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาลต่าง ๆ  ช่วยประชาสัมพันธ์โครงการให้กับผู้ปกครองของกลุ่มเป้าหมายได้รับทราบ

 

            2. การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ

                 2.1 ดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ ในระยะที่ 1 (วันที่ 30 มี.ค. - 14 เม.ย.65)

                 1) วางแผนและประกาศรับสมัครนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เข้าร่วมโครงการอยู่ประจำ  เรียนฟรี  มีอาชีพ 

                 2) การประชาสัมพันธ์โครงการ และออกแนะแนวการศึกษา ติดตามกลุ่มเป้าหมาย

                 3) การวางแผน จัดเตรียมปรับปรุงอาคารสถานที่ หอพักนักเรียน ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ นำมาปรับปรุงให้นักเรียนเข้าพักได้ใน ปีการศึกษา 1/ 2565

 

                 2.2 ความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ ในระยะที่ 2 (วันที่ 18 เม.ย.-12 พ.ค.65)

                 1) การพัฒนาเตรียมความพร้อมด้านสถานที่ มีการปรับปรุงอาคารที่พักสำหรับนักเรียนที่จะมาอยู่ประจำ

                 2) เพิ่มการประชาสัมพันธ์ และออกแนะแนวการศึกษา

                 3) รับนักเรียนตามโครงการ ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช. 1 ประจำปีการศึกษา 1/2565

                 ความก้าวหน้าของข้อมูลการขับเคลื่อน

                 1) เป้าหมายนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เข้าศึกษาต่อจำนวน 291 คน

                 2) สถานศึกษามีความพร้อมของหอพักที่จะรองรับจำนวน  7    หลัง/แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100

              (ของกลุ่มเป้าหมาย)

                 ๓) จำนวนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการ ระยะที่ 2 จำนวน 168 คน คิดเป็นร้อยละ  60.47

              (ของกลุ่มเป้าหมาย)

 

            ๓. ปัญหา อุปสรรค

            1) แนวปฏิบัติในการดำเนินงานโครงการอาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ มีความไม่ชัดเจน ทำให้การปฏิบัติงานเชิงรุกมีความล่าช้า

            2) ที่พักสำหรับนักเรียนที่จะเข้ามาอยู่ประจำที่วิทยาลัย ยังไม่เรียบร้อย ขาดเตียงโต๊ะเขียนหนังสือ

            3)  งบประมาณที่ได้รับในการนำมาปรับปรุงอาคารที่พักไม่เพียงพอกับการที่นำมาปรับปรุงอาคารให้กับนักเรียนที่จะมาอยู่ประจำ     

            4) ครูและบุคลานในสถานศึกษามีจำนวนไม่เพียงพอ คุณครูที่จะต้องมาอยู่ประจำกับนักเรียนยังไม่เรียบร้อย

           

            ๔. ข้อเสนอแนะ

            1) ควรจัดทำคู่มือปฏิบัติงานโครงการอาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

            2) ควรมีการจัดสรรครูและบุคลากรให้มีความพร้อมและเพียงพอต่อสถานศึกษา เพื่อให้เกิดคุณภาพในการจัดการเรียนการสอน

            3) ควรจัดสรรงบประมาณในการสนับสนุนอุปกรณ์การเรียน และอุปกรณ์ที่พักอาศัย

            4) อยากมีที่พักเป็นแบบตึกที่ทันสมัยไม่ใช่หอพักแบบห้องแถวกระจัดกระจาย

 

            ๕. ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการดำเนินงาน

            1) ดำเนินงานโดยมีกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน และเลือกใช้หลักและวิธีการในการดำเนินงานที่ดีที่สุด

            2) ความพร้อมของบ้านพัก

            3) มีงานรองรับนักเรียนให้ทำโครงการ

            4) การดูแลติดตามนักเรียน คือครูที่ดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด

 

 


5. โครงการความปลอดภัยสถานศึกษา (MOE Safety Center)

    ความก้าวหน้าการดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการ

            1. การสร้างการรับรู้ การขยายผลสร้างการรับรู้ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายตามโครงการ ดังนี้

            1) ขับเคลื่อนการดำเนินงานการรับรู้กับผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรในสังกัด เพื่อนำไปเผยแพร่ให้นักศึกษาในสังกัดของตนได้สามารถเข้าใจและการใช้งาน

            2) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดประชุมชี้แจง สร้างความรู้ ความเข้าใจในการเข้าใช้งานระบบ MOE Safety Center และได้ติดตั้ง Application MOE Safety Center ให้กับผู้บริหารระดับเขตพื้นที่การศึกษา  ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และแจ้งให้สถานศึกษาจัดอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่นักเรียน ผู้ปกครอง ในการเข้าใช้งานระบบ MOE Safety Center และได้ติดตั้ง Application MOE Safety Center

            3) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการดำเนินการจัดตั้งศูนย์ความปลอดภัยเขตพื้นที่การศึกษา แต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ความปลอดภัยเขตพื้นที่การศึกษา และจัดทำแผนติดตามและประเมินผล

            4) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแจ้งให้โรงเรียนจัดตั้งคณะกรรมการศูนย์ความปลอดภัยสถานศึกษา แต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ความปลอดภัยสถานศึกษา ให้โรงเรียนศึกษาคู่มือการดำเนินความปลอดภัยสถานศึกษา ให้สถานศึกษาแจ้งครู นักเรียน และผู้ปกครอง ให้ดาวน์โหลด แอพลิเคชั่น MOE Safety Center ให้สถานศึกษาจัดทำแผนเผชิญเหตุ และให้สถานศึกษาดำเนินการศึกษารายละเอียดผ่านช่องทางระบบอินเตอร์เน็ต และจัดตั้งกลุ่ม Line MOE Safety Center เพื่อเป็นช่องทางในการประสานงานระหว่างสำนักงานและสถานศึกษาในสังกัดและได้ประสานขั้นตอนการดำเนินงานร่วมกับสถานศึกษาได้อย่างเป็นระยะ

            5) สถานศึกษามีการจัดทำป้ายรณรงค์ส่งเสริมการเรียนรู้ระบบ MOE Safety Center ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา

            6) ประชาสัมพันธ์ระบบแจ้งเหตุ รวมถึงการใช้งานของระบบมาตรฐานความปลอดภัย (MOE Safety Center) ไปยังกลุ่มไลน์นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไป และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้และการใช้งานเกี่ยวกับระบบมาตรฐานความปลอดภัย (MOE Safety Center) ผ่าน 4 ช่องทาง  ดังนี้ (1) Application MOE Safety Center (2) https://www.moesafetycenter.com (3)  Line@MOESafetyCenter (4) Call center : 02 126 6565

 

            2. การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ

                 2.1 ดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ ในระยะที่ 1 (วันที่ 30 มี.ค. - 14 เม.ย.65)

                  1)  ผู้บริหาร มอบนโยบายแนวทางการบริหารมาตรฐานความปลอดภัย MOE Safety Center แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา                   

                 2) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในสังกัด มีการจัดตั้งศูนย์ความปลอดภัยของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา การจัดตั้งศูนย์ความปลอดภัยของสถานศึกษา แต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยและเจ้าหน้าที่ดูแลระบบของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีการแต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยและเจ้าหน้าที่ดูแลระบบของสถานศึกษา มีการอบรม/ขยายผล แนวทางการบริหารการจัดการรับบมาตรฐานความปลอดภัย และการใช้งานระบบ Application  MOE Safety Center ทั้งในมิติผู้แจ้งเหตุ และผู้รับเรื่องร้องเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในสังกัด สร้างความรู้ความเข้าใจการเข้าถึงการเป็นผู้แจ้งเหตุให้กับนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา สถานศึกษามีการจัดทำป้ายรณรงค์ส่งเสริมการเรียนรู้ระบบ MOE Safety Center ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา

                 3) มีการอบรม/ขยายผล การใช้งานระบบ/Application MOE Safety Center ทั้งในมิติผู้แจ้งเหตุและผู้รับเรื่องร้องเรียน ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา

                 4) การเสริมสร้างศักยภาพการทำงานให้กับนักจิตวิทยาโรงเรียนประจำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยมอบหมายให้นักจิตวิทยาฯ  เข้าร่วมการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานความปลอดภัยระบบ MOE Safety Center

                 5) ดำเนินงานเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้สถานศึกษาขับเคลื่อนการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสร้างความเข้าใจร่วมกันในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและ สถานศึกษาในสังกัด  พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในสังกัด วางแผนจัดแนวทางการบูรณาการงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนร่วมกัน

                 6) จัดส่งคู่มือมาตรการรักษาความปลอดภัย การดูแลช่วยเหลือและคุ้มครองนักเรียน ให้โรงเรียนในสังกัดดำเนินการตามมาตรการรักษาความปลอดภัย การดูแลช่วยเหลือและคุ้มครองนักเรียนอย่างเคร่งครัด และให้โรงเรียนรายงานการดำเนินงานการประเมินตนเองก่อนเปิดภาคเรียน ภาคเรียนละ 1 ครั้ง

                 7) แจ้งให้โรงเรียนประชาสัมพันธ์ระบบแจ้งเหตุของระบบมาตรฐานความปลอดภัย MOE Safety Center เช่น ในกลุ่มไลน์นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไป  หรือทางสื่อต่างๆ

                  8) ประสานความร่วมมือกับส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง ในการดูแลรักษาความปลอดภัยนักเรียน

นอกสถานศึกษา เช่น พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา (พสน.)/เจ้าหน้าที่ปกครอง/กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น

                  9) มีการประสานงานร่วมกับเครือข่ายในพื้นที่และทำงานเป็นทีมในการดูแลความปลอดภัย ให้แก่นักเรียนในช่วงเทศกาลต่าง ๆ เช่น วันวาเลนไทน์ วันลอยกระทง และกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในและนอกบริเวณโรงเรียน

                  10) ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียนและผู้ปกครอง และภาคีเครือข่าย มีแนวทางการบริหารมาตรฐานความปลอดภัยและเกิดการประสานงาน ส่งต่อ สร้างความปลอดภัย มีความรวดเร็ว สามารถลดขั้นตอนในการแก้ปัญหา และให้ความคุ้มครอง เยียวยา นักเรียน โดยมีระบบฐานข้อมูลสารสนเทศเชิงระบบที่มีประสิทธิภาพ ในการให้ความช่วยเหลือ คุ้มครองและสร้างความปลอดภัย

 

            2.2 ความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ ในระยะที่ 2 (วันที่ 18 เม.ย. - 12 พ.ค.65)

            1) ขยายผลการสร้างการรับรู้การใช้งานระบบ MOE Safety Center ในการประชุมผู้บริหารสถานศึกษา  ประชาสัมพันธ์ช่องทางการแจ้งเหตุและเว็บไซต์หน่วยงาน และแจ้งให้สถานศึกษาจัดทำป้ายรณรงค์ ส่งเสริมการเรียนรู้ระบบ MOE Safety Center หน้าสถานศึกษาทุกแห่ง และในห้องเรียนทุกห้อง

            2) วางแผนการจัดทำคู่มือการดำเนินงานระบบ MOE Safety Center ของเขตพื้นที่การศึกษา

            3) จัดทำแผนความปลอดภัยสถานศึกษา ตามมาตรการ ๓ ป ป้องกัน ปลูกฝัง ปราบปราม และแผนเผชิญเหตุระดับเขตพื้นที่การศึกษา

            4) ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ความปลอดภัยและแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ความปลอดภัยระดับอำเภอและดำเนินการสร้างหน่วยงานในระบบ MOE Safety Center เชิญสมาชิกคณะกรรมการศูนย์ความปลอดภัยอำเภอลงทะเบียนเข้าใช้งานระบบ MOE Safety Center และเชิญเจ้าหน้าที่ Operator และเจ้าหน้าที่ SC เข้าเป็นสมาชิกของโรงเรียน และจัดทำป้ายศูนย์ความปลอดภัยของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. สช.กศน.อาชีวะ

            5) แจ้งให้โรงเรียนจัดทำข่าวประชาสัมพันธ์ระบบแจ้งเหตุของระบบมาตรฐานความปลอดภัย MOE Safety Center หน้าเว็บไซต์ของโรงเรียนและให้รายงานการดำเนินงานกลับมายังสำนักงานเขตพื้นที่ สช กศน. อาชีวะ

            6) สำรวจความเสี่ยงภัยของสถานศึกษาในสังกัด

            7) ติดตามการดำเนินการระบบมาตรฐานความปลอดภัยของสถานศึกษาในสังกัด เสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยลงพื้นที่เยี่ยมบ้านพร้อมทั้งให้ครูผู้รับผิดชอบ/นักจิตวิทยา ประเมิน สำรวจและวิเคราะห์สุขภาพจิตของนักเรียน

            8) ติดตามความก้าวหน้าของโรงเรียนในการปรับใช้ ระบบ MOE Safety Center เพื่อดูแลนักเรียนโดยให้ครอบคลุมตามขอบข่ายความปลอดภัยทั้ง 4 กลุ่มภัย

            9) จัดทำแผนด้านความปลอดภัยและแผนเผชิญเหตุของสถานศึกษา

            10) กำหนดปฏิทินดำเนินการกำกับ ติดตาม และประเมินผล ในการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง

            11) จัดทำป้ายรณรงค์ส่งเสริมการเรียนรู้ระบบ MOE Safety Center หน้าสถานศึกษา

            12) จัดกิจกรรมส่งเสริมการแสดงออกเชิงความคิดสร้างสรรค์ให้กับนักเรียนทุกระดับ ในช่วงปิดภาคเรียน เช่น  กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยโรงเรียนวัดหาดทรายแก้ว  กิจกรรมเสริมสร้างความเข้าใจ เพื่อความปลอดภัยสถานศึกษา โรงเรียนบ้านดอนตะเคียน  กิจกรรมเด็กดีศรีเขาชันโต๊ะ โรงเรียนบ้านเขาชันโต๊ะ  กิจกรรมน้องพี่ปลอดภัยใส่ใจปิดเทอม โรงเรียนชุมชนมาบอำมฤต

 

                 2.2.1 ระบบ MOE Safety Center สามารถลดขั้นตอน ลดเวลา มีความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหา

                 1) มีแนวทางการบริหารมาตรฐานความปลอดภัยและเกิดการประสานงาน ส่งต่อ สร้างความปลอดภัย มีความรวดเร็ว สามารถลดขั้นตอนในการแก้ปัญหา และให้ความคุ้มครอง เยียวยา นักเรียน สร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่ปลอดภัยที่เกิดขึ้น โดยมีระบบฐานข้อมูลสารสนเทศเชิงระบบที่มีประสิทธิภาพ ในการให้ความช่วยเหลือ คุ้มครองและสร้างความปลอดภัย ทั้งนี้พบว่าบางสถานศึกษาอยู่ระหว่างการดำเนินการและการขยายผลไปยังผู้ปกครอง ประชาชน หน่วยงานอื่นๆ จึงยังไม่มีการใช้งานของระบบ MOE Safety Center

                 2) ระบบ MOE Safety Center สามารถลดขั้นตอน ลดเวลา มีความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาได้จริงในบ้างเหตุการณ์ เพราะเมื่อมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ้างเหตุการณ์การอาจทำให้ล่าช้าต่อการเข้าช่วยเหลือ

                 3) เนื่องจากขณะนี้ในหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดบางแห่ง ยังไม่ได้รับการแจ้งเหตุใด ๆ เข้ามาในระบบ MOE Safety Center จึงยังไม่สามารถยืนยันได้ แต่ในเบื้องต้นเชื่อมั่นว่าระบบ MOE Safety Center สามารถช่วยลดเวลา มีความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาได้จริง

                 2.2.2 นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา หรือประชาชนทั่วไป สามารถเข้าถึงระบบ MOE Safety Center ในฐานะผู้แจ้งเหตุ

                 1) สามารถแจ้งเหตุได้จริง เนื่องจาก Application MOE Safety Center เป็นระบบที่มีการแจ้งเหตุที่ใช้งานง่าย และทุกคนสามารถเข้าถึงระบบได้ เพียงแค่โหลดแอพพลิเคชั่น มีความครอบคลุมถึงความปลอดภัยในทุกมิติ และเป็นระบบที่สามารถแจ้งเหตุการณ์ และสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงได้                          

                 2) นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา สามารถเข้าถึงระบบ MOE Safety Center ในฐานะผู้แจ้งเหตุได้จริง แต่ในบางกลุ่มอาจจะติดปัญหาในการเข้าถึงระบบ MOE Safety Center ในหลายสาเหตุ เช่น อินเตอร์เน็ต สภาพพื้นที่ของที่อยู่อาศัย  ความเสถียรของระบบ  เป็นต้น  อีกทั้งยังไม่มีความมั่นใจ  ไม่มีความเชื่อมั่นในการดำเนินงาน  รวมถึงความปลอดภัยของข้อมูล

 

            3. ปัญหา อุปสรรค

            1) เนื่องจากเป็นระบบที่ใหม่ ทำให้มีปัญหาในการใช้งานบ่อย

            2) การประชาสัมพันธ์และการรับรู้ความเข้าใจการเข้าถึงระบบ MOE Safety Center ยังขยายผลไม่ทั่วถึงกลุ่มเป้าหมายเท่าที่ควร เนื่องจากอยู่ในช่วงปิดภาคเรียนและสถานการณ์โควิด

            3) การติดตั้งและการเข้าถึง Application MOE Safety Center ในนักเรียนบางกลุ่มมีข้อจำกัดติดปัญหาการในการใช้งานระบบ เช่น ปัญหาอินเตอร์เน็ต สภาพพื้นที่ของที่อยู่อาศัยของนักเรียน เป็นนักเรียนพิการ และเรียนอยู่ในระดับชั้นปฐมวัย (เตรียมความพร้อม) ไม่สามารถเข้าใช้ระบบนี้ได้

            4) ผู้ปกครองและนักเรียนไม่สามารถดำเนินการดาวน์โหลด Application MOE Safety Center  มาใช้งานได้ทุกคน เนื่องจากอุปกรณ์มือถือไม่สามารถรองรับการใช้งาน Application MOE Safety Center ได้และระบบ Application MOE Safety Center ยังไม่เสถียร  ไม่พร้อมให้ใช้งาน

            5) การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานโครงการความปลอดภัยสถานศึกษา (MOE Safety Center) ให้กับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในหน่วยงาน ที่จะต้องนำไปขยายผลต่อสถานศึกษานั้น ยังไม่มีความชัดเจนมากพอ

            6) ศูนย์การศึกษาพิเศษเป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษาในลักษณะศูนย์บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม (EI) และเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนพิการ จึงมีเป็นข้อจำกัด ไม่สามารถเข้าถึงการดำเนินการตามระบบ MOE Safety Center

 

            ๔. ข้อเสนอแนะ

            1) นโยบายต้องมีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ทั่วถึง และสร้างความเข้าใจแก่ผู้ใช้งานระบบอย่างชัดเจน ถึงข้อดี ข้อเสียของการใช้ระบบเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

            2) ควรมีจัดการประชุมชี้แจงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการความปลอดภัยสถานศึกษา (MOE Safety Center) ให้กับผู้ปฎิบัติ หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวที่ข้องได้รับทราบแนวปฎิบัติที่มีความชัดเจน และเป็นไปในทิศทางเดียวกันโดยพร้อมเพรียงกัน

            3) สร้างการรับรู้และความเข้าใจให้กับนักเรียนและผู้ปกครอง และครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้สามารถเข้าถึงการใช้บริการให้มากยิ่งขึ้น และให้แล็งเห็นถึงความปลอดภัยของนักเรียนเป็นสำคัญ

 

            4) ควรจัดอบรมให้แก่ผู้รับผิดชอบดูแล/ผู้ใช้งานระบบ MOE Safety Center ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาอีกครั้ง เพื่อเน้นย้ำและสร้างความเข้าใจการใช้งานของระบบ ให้มากขึ้นเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และการสมัครเข้าใช้งานควรมีขั้นตอนที่รัดกุม สะดวก

            5) สร้างสื่อประชาสัมพันธ์การเข้าถึงระบบ MOE Safety Center ให้เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป น่าสนใจมากยิ่งขึ้น เช่น การประชาสัมพันธ์ผ่านข่าวจากโทรทัศน์ และจัดทำสื่อที่เป็นรูปแบบเดียวกันทั่วประเทศ

            5) สามารถใช้อีเมล์เดียวกันในการสร้าง Username ในระบบของผู้แจ้งเหตุ และผู้รับแจ้งเหตุ เพื่อลดขั้นตอนในการใช้งาน

            6) เพื่อให้มีการใช้งานแอพพลิเคชั่น MOE Safety Center ได้อย่างแพร่หลาย และทั่วถึงมากขึ้น ควรปรับปรุงให้แอพพลิเคชั่นไม่สลับซับซ้อนมาก ลดขั้นตอนในการเข้าถึงและใช้งานง่ายแต่ปลอดภัย

            7) ควรจัดสรรงบประมาณในการอบรมความรู้ความเข้าในการใช้ระบบ MOE Safety Center ให้แก่นักเรียนครูและบุคลากรทางการศึกษา และในการจัดทำป้ายรณรงค์/ประชาสัมพันธ์การเข้าถึง Application MOE Safety Center

            8) ประชาชนและผู้ปฏิบัติ  ขาดความเชื่อมั่นในนโยบายด้านการศึกษา  ตลอดถึงแนวการดำเนินงาน  เนื่องจากการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมาขาดความต่อเนื่อง  ไม่เห็นผลที่เป็นรูปธรรมในพื้นที่

 

            ๕. ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการดำเนินงาน

            1) สร้างความตระหนักให้ผู้บริหารหน่วยงาน ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของระบบ MOE Safety Center และถ่ายทอดไปยังผู้ใต้บังคับบัญชา และจะนำมาซึ่งการปฏิบัติงานที่ได้มาตรฐานและมาคุณภาพ

            2) สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถเข้าใช้งานระบบ MOE Safety Center ได้เป็นอย่างดี

            3) การวางแผนการดำเนินงาน และการสนับสนุนจากผู้บริหารที่ให้ความสำคัญและเล็งเห็นประโยชน์ของโครงการความปลอดภัยสถานศึกษา (MOE Safety Center) ของนักเรียนเป็นหลัก จึงทำให้สามารถขับเคลื่อนนโยบาย และเร่งการดำเนินงาน โดยมาตรการ ๓ ป “ป้องกัน ปลูกฝัง ปราบปราม” มาใช้ในการปฏิบัติงานในระบบMOE Safety Center ได้จริง

            4) กระบวนการในการดำเนินงานที่เป็นขั้นตอนและเป็นระบบ

            5) สื่อประชาสัมพันธ์ที่ใช้ในการสร้างความรับรู้ให้กับทุกคน

            6) การให้ความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ในการขยายผลความสำคัญที่จะนำระบบ MOE Safety Center มาใช้ให้เกิดประโยชน์ให้ได้มากที่สุด

            7) ศูนย์การศึกษาพิเศษนำระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มาปรับใช้หรือผนวกนโยบายนี้เข้ากับระบบการดูแลช่วยนักเรียน ซึ่งเป็นงานที่สถานศึกษาดำเนินการอยู่แล้ว โดยการปรับปรุงขั้นตอน วิธีการให้สอดคล้องเข้าด้วยกัน ซึ่งช่วยส่งเสริมการปฏิบัติตามนโยบายได้อย่างมีงานประสิทธิภาพ และยังช่วยลดภาระงานของครูลงด้วยอีกทางหนึ่ง

            8) มีการนิเทศ ติดตามประเมินผลการดำเนินงานของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อตรวจสอบการใช้งานของระบบและการดำเนินงานของโรงเรียนในการแก้ปัญหาตามเรื่องที่ได้รับแจ้งเหตุ

6. โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ

    ความก้าวหน้าการดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการ

            1. การสร้างการรับรู้ การขยายผลสร้างการรับรู้ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายตามโครงการ ดังนี้

            1) มีการชี้แจงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ในประเด็น มาตรการสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา การจัดตั้งสถานีแก้หนี้ครู  การเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ สพฐ.วิถีใหม่เอื้ออาทรในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รายงานการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ และแนวทางการดำเนินการของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา

            2) แจ้งประชาสัมพันธ์การลงทะเบียน โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา

ไปยังโรงเรียนในสังกัดและแจ้งให้บุคลากรในสังกัดทราบ และขยายผลสร้างการรับรู้ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้สถานศึกษาในสังกัดร่วมประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรทราบ

            3) จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาจังหวัด ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

            4) จัดตั้งสถานีแก้หนี้ ตามแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการระดับเขตพื้นที่

            5) ให้ความรู้ด้านการเงิน โดยมีแนวความคิดจะนำหลักสูตรทางการเงินเป็นหลักสูตรสำหรับการพัฒนาครู เพื่อเป็นการปลูกฝังความรู้ความเข้าใจและระเบียบวินัยทางการเงินตั้งแต่ต้นทาง             

            6) จัดทำข้อมูลครูที่ลงทะเบียนผ่านระบบเข้าร่วมมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ครู “สร้างโอกาสใหม่ให้ครูไทย

            7) กำหนดเป็นนโยบาย และดำเนินการสถานีแก้ไขปัญหาหนี้สินครูในองค์กรมีหน้าที่นิเทศให้ความรู้ก่อนการเป็นหนี้ เพื่อป้องกันการก่อหนี้เพิ่ม และแนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูในสถานศึกษา

 

            2. การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ 

                 2.1 ดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ ในระยะที่ 1 (วันที่ 30 มี.ค. - 14 เม.ย.65)

                 1) ประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาระดับจังหวัดและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและหน่วยงานทางการศึกษา เพื่อสร้างความเข้าใจในบทบาทของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาระดับจังหวัดและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและหน่วยงานทางการศึกษา

                 2) จัดทำโครงการ แนวทาง และแผนการแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ของหน่วยงานต้นสังกัดภายในจังหวัด

                 3) มีการมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ดูแล จัดการ ช่วยเหลือและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สถานีแก้หนี้ครู)

                 4) ประชาสัมพันธ์ขยายผลสร้างการรับรู้ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้สถานศึกษาในสังกัดร่วมประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรทราบและเชิญลงทะเบียนแก้ไขปัญหาหนี้สินครู

                 5) เปิดให้ลงทะเบียนแก้ไขปัญหาหนี้สินครูเข้าสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาหนี้สินและประสานงานช่วยเหลือครูเพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้สิน

                 6) สรุปข้อมูลการลงทะเบียนแก้ไขปัญหาหนี้สินครูรอบที่ 1 โดยตรวจสอบจากระบบข้อมูลการจ่ายเงินเดือนของเขตพื้นที่ฯ สำหรับบุคลากรในสังกัด และดึงข้อมูลจากกรมบัญชีกลางสำหรับผู้เกษียณอายุราชการที่ลงทะเบียน และแจ้งข้อมูลรายละเอียดการลงทะเบียนแก้ไขปัญหาหนี้สินครูรอบที่ 1 ให้คณะกรรมการตามคำสั่ง สพฐ. ทราบ

                 7) นิเทศ แนะนำ ให้ความรู้เพื่อการป้องกันปัญหาการมีหนี้สินครูของข้าราชการครูและบุคลากรในสถานศึกษา

                 8) ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูร่วมกับสหกรณ์ออมทรัพย์ครูและและสถาบันการเงินอื่น ๆ ที่ครูและบุคลากรทางการศึกษาใช้บริการ

 

                 2.2 ความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ ในระยะที่ 2 (วันที่ 18 เม.ย. - 12 พ.ค.65)

                 1) เตรียมพร้อมสำหรับการตรวจเช็คจำนวนข้อมูลผู้ลงทะเบียนรอบสอง พร้อมทั้งมีเจ้าหน้าที่บริการตอบคำถามในส่วนของการลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์

                 2) ประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อกำหนดแผนและแนวทางในการดำเนินงาน แก้ไขปัญหาหนี้สินครูร่วมกับสหกรณ์ออมทรัพย์ครู และสถาบันการเงินที่ เพื่อจัดหาแนวทางในการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู โดยจัดแบ่งกลุ่มข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้ลงทะเบียนไว้ ดังนี้ กลุ่มที่ 1 กลุ่มเงินเดือนคงเหลือมากกว่า 30% ไม่พอใช้ในการดำรงชีพ กลุ่มที่ 2 กลุ่มครูที่กำลังเกษียณอายุและครูที่มีแนวโน้มจะติดหนี้ไปจนตาย กลุ่มที่ 3 กลุ่มครูผู้กู้และผู้ค้ำประกันที่กำลังถูกฟ้องร้องดำเนินคดี

                 3) ตรวจสอบข้อมูลผู้ลงทะเบียนในสังกัดเพื่อใช้ยืนยันความถูกต้องให้ตรงกับข้อเท็จจริง และดำเนินการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ลงทะเบียน

                 4) ผู้บริหาร นิเทศ กำกับติดตาม ตรวจสอบ การก่อหนี้ของครูและบุคลากรทุกคน

                 5) ประชาสัมพันธ์ระเบียบให้บุคลากรทราบ

                      2.๒.1 ข้อมูลครูที่ลงทะเบียนผ่านระบบเข้าร่วมมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูฯ “สร้างโอกาสใหม่ให้ครูไทย” จำนวน    1,485  คน

                      2.2.2 สามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของสหกรณ์ออมทรัพย์ให้ต่ำลงไม่เกิน 3% และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้สอดคล้องกับสินเชื่อที่มีอัตราความเสี่ยงต่ำ 4.5 5.0%

                      - สามารถดำเนินการได้ เพราะสามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ได้เฉพาะ เงินกู้ ทบ. เงินกู้สามัญไม่เกินทุนเรือนหุ้นหรือบัญชีเงินฝากผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ และเงินกู้สามัญ เงินกู้สามัญไม่เกินทุนเรือนหุ้นและหรือบัญชีเงินฝากในอัตรา 5%  

                      - ไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะสหกรณ์ออมทรัพย์ครูบางแห่งอยู่ระหว่างดำเนินการ บางแห่งมีอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ 1.75% ซึ่งต่ำกว่า 3 % แต่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ 5.5 % ยังไม่สอดคล้องกับแนวทาง และบางแห่ง อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 5.25 ไม่สูงเกินไป  ทำให้สมาชิกสามารถชำระหนี้ได้และสมดุลกับสวัดิการของสมาชิกทุกระดับ  กำลังอยู่ในขั้นตอนของการเชิญครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ข้อมูลและแจ้งความเดือนร้อน พร้อมทั้งความประสงค์ที่จะให้สถานีแก้หนี้ช่วยเหลือ  สหกรณ์ออมทรัพย์ครู บริหารกิจการ ในรูปแบของคณะกรรมการบริหาร การปรับลดหรือเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารและการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้หรือดอกเบี้ยเงินฝากอ้างอิงกับธนาคารแห่งประเทศไทย หรือสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องและคำนึงถึงผลประโยชน์ของสมาชิกส่วนใหญ่

                      2.2.3 สามารถยกระดับการหักเงินเดือนให้เป็นสวัสดิการที่แท้จริง

                      - สามารถดำเนินการได้ เพราะ ปัจจุบันมีการหักเงิน ณ ที่จ่าย  โดยให้มีเงินคงเหลือไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ทุกราย  และมีการตรวจสอบเงินคงเหลือ ณ ที่จ่ายเมื่อมีการชำระหนี้โดยให้มีเงินคงเหลือไม่น้อยกว่า ร้อยละ 30 

                      - ไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะการตัดเงินเดือนเพื่อใช้หนี้สวัสดิการและสหกรณ์ออมทรัพย์ครู หรือสถาบันการเงินยังใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในตลาดทั่วไป ยังต้องรอกรอบนโยบายในการปฏิบัติ

 

            3. ปัญหา อุปสรรค

            1) มีความล่าช้าในการขับเคลื่อนโยบาย ต้องรอนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน

            2) จากการวิเคราะห์ข้อมูลการลงทะเบียนแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา  สรุปข้อมูลเบื้องต้นที่ได้รับยังไม่สมบูรณ์ เนื่องด้วยระบบยังมีข้อผิดพลาดด้านการนำเข้าข้อมูลของผู้ลงทะเบียนส่งผลให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน ทำให้ในส่วนยอดจำนวนหนี้ข้อมูลที่ได้รับมีความคลาดเคลื่อนไม่เป็นจริง จำเป็นต้องมีการสำรวจตรวจสอบข้อมูลอีกครั้ง    

            3) หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินงานขับเคลื่อนการแก้ปัญหาหนี้สินครู  ไม่ได้มีอำนาจในการตัดสินใจ  (ทำได้เพียงการประสาน  ขอความร่วมมือ)

            4) ข้อมูลที่ลงทะเบียนในระบบยังเป็นข้อมูลเบื้องต้นซึ่งต้องให้ผู้ลงทะเบียนบันทึกข้อมูลตามแบบฟอร์มใหม่เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และใช้เป็นข้อมูลสำหรับเจรจากับฝ่ายเจ้าหนี้         

            5) ระบบฐานข้อมูลทางเว็บไซต์ที่เปิดให้ลงทะเบียนข้อมูลที่ได้รับเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากผู้ลงทะเบียนบันทึกข้อมูลไม่ถูกต้อง

            6) ยังไม่มีการเชื่อมโยงข้อมูลการกู้เงินของครูในระบบเพื่อการใช้มาตรการที่ชัดเจนได้

            7) ผู้เป็นกู้/ผู้เป็นหนี้ ไม่แสดงตนและไม่ลงทะเบียน

            8) การคุมยอดหนี้ยังไม่สามารถควบคุมได้ เนื่องจากครูใช้บริการทั้งหนี้ในระบบและนอกระบบ

            9) ยังไม่มีแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนว่าครูที่ลงทะเบียนแล้วจะไปแก้ไขปัญหาให้เขาได้อย่างไร เมื่อไหร่ ด้วยวิธีไหน เพราะเจ้าหนี้ต่างๆยังไม่มีมาตรการที่ชัดเจน(มีผู้ที่ลงทะเบียนไว้โทรมาสอบถามก็ไม่สามารถตอบได้ชัดเจน) และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นเพียงหน่วยงานที่ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้เท่านั้น ซึ่งไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ เรื่อง การชำระหนี้โดยตรง

 

 

            4. ข้อเสนอแนะ

            1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระบบควรมีการประชาสัมพันธ์ การแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู และพัฒนาครูทั้งระบบอย่างต่อเนื่อง

            2) ควรกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติ และปฏิทินการปฏิบัติงานให้มีความชัดเจน เพื่อสามารถนำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง

            3) ควรแบ่งประเภทปัญหาหนี้สินของครูระดับต่าง ๆ และในแต่ละระดับควรให้การช่วยเหลือด้วยแนวทางอย่างเหมาะสม

            3) การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูควรจะนำร่องในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งก่อน เพื่อให้มีการจับต้องได้ของกระบวนการทำงาน

            4) ควรกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติ และปฏิทินให้มีความชัดเจน เพื่อสามารถนำไปปฏิบัติได้ทั้งพร้อมกันทั้งระบบ

            5) ควรมีมาตรการ คัดกรองการกู้เงิน และทำสัญญาแยกประเภทปัญหาหนี้สินของครูระดับต่าง ๆ และในแต่ละระดับควรให้การช่วยเหลือด้วยแนวทางอย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด เช่น การกู้เพื่อการศึกษาหรือกู้เพื่อยังชีพ กับการกู้เพื่อการลงทุน ควรมีมาตรการที่แตกต่างกัน

            6) ควรมีสวัสดิการดอกเบี้ยต่ำให้บริการกับครูที่มีความจำเป็นในการกู้เงิน เช่น เพื่อการศึกษา เพื่อดำรงชีพเพื่อชำระหนี้  เป็นต้น

            7) เสริมสร้างกระบวนการติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

            8) สร้างความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องเพื่อป้องกันการมีหนี้ของครูในระยะยาว รณรงค์และส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษายึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิต

            9) เพิ่มช่องทางหรือควรมีแอพลิเคชั่นแก้ปัญหาหนี้สินครู

            10) ควรมีโครงการความร่วมมือระหว่าง สพฐ.กับธนาคารออมสิน เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินครู  เช่น การรวมหนี้  ยุบยอดหนี้  หรือปรับโครงสร้างหนี้ 

            11) ควรมีโครงการตลาดนัดสินเชื่อ  สำหรับเจ้าหนี้ที่เข้าร่วมโครงการได้พบกับลูกหนี้  เพื่อปรับโครงสร้างหนี้หรือเข้าร่วมโครงการตามความต้องการของลูกหนี้

            12) ควรจัดตั้งหน่วยงานแก้ไขปัญหาหนี้สินโดยเฉพาะ พร้อมจัดสรรงบประมาณ เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินของข้าราชการครูและบุคลการทางการศึกษาในสังกัดที่เข้าร่วมโครงการ

            13) ในการพูดคุยเพื่อปรับลดดอกเบี้ย ปรับลดหนี้  (การปรับแก้ปัญหาเชิงนโยบาย)  ควรให้ผู้มีอำนาจเจรจา แล้วกำหนดเป็นแนวทางที่ชัดเจนมายังเขตพื้นที่

            14) เสริมสร้างกระบวนการติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

 

            5. ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการดำเนินงาน

            1) แนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจนเป็นมาตรฐานเป็นไปในแนวทางเดียวกัน

            2) การให้ความรู้กับครูในการวางแผนการใช้จ่ายเงิน  และรู้คุณค่าของการออมเงิน สร้างจิตสำนึกในการวางแผนการใช้จ่ายเงินอย่างรอบคอบ

            2) วิเคราะห์ข้อมูลและวางแผน กำหนดกรอบแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน

            3) มีการร่วมมือ จัดประชุมกับสหกรณ์และสถาบันการเงินเพื่อกำหนดแนวทางการแก้หนี้

        4) ตรวจสอบ กำกับ การขอกู้เงินของข้าราชการครูและบุคลากรในสนถานศึกษา ต้องมีเงินเหลือใช้จ่ายในชีวิตประจำวันตามที่ระเบียบกำหนด ที่ 30% ของเงินเดือน และผ่านการเห็นชอบและอนุมัติของผู้อำนวยการ

        5) หนี้ครูส่วนใหญ่ ๘๐% ครูเป็นหนี้กับสหกรณ์ รองลงมาคือสถาบันการเงินกับธนาคารต่าง ๆ ดังนั้น หนี้ครูจากสหกรณ์ออมทรัพย์ครูจึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะเริ่มนำร่องแก้ปัญหาก่อน

        6) สถานบันการเงิน และสหกรณ์ออมทรัพย์ครูอย่างหวังแต่กำไรมาเกินไป จนทำให้ข้าราชการครู ขาดที่พึ่งด้านสวัสดิการทางการเงิน

         7) หน่วยงานที่เป็นหน่วยหักเงินเดือน ดำเนินการตามระเบียบว่าด้วยการหักเงินเดือน เงินบำเหน็จบำนาญ เพื่อชำระหนี้ให้กับสถาบันการเงินหรือสหกรณ์ออมทรัพย์โดยเคร่งครัด

 

 

 

ข้อมูล ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2565

สนับสนุนข้อมูลโดย : สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา

รวบรวมและสรุปข้อมูลโดย : สำนักงานศึกษาธิการภาค 5


 บันทึข้อมูลโดย: