ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการภาค บันทึกเมื่อวันที่ Date: 01 กรกฎาคม 2564
สรุปผลการตรวจราชการตามนโยบายการตรวจราชการและติดตามประเมินผล
การจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
รอบที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
และติดตามการจัดการเรียนการสอนตามมาตรการการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19)
ของ
นายวัลลพ สงวนนาม ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
ในวันที่
28 มิถุนายน 2564
ณ
จังหวัดชุมพร
--------------------------------------
ตามที่
นายวัลลพ สงวนนาม ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
ได้ลงพื้นที่ตรวจราชการตามนโยบายการตรวจราชการและติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
รอบที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
และติดตามการจัดการเรียนการสอนตามมาตรการการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 (COVID-19) ของหน่วยงานการศึกษาในเขตตรวจราชการที่ 5 ในวันที่ 28 มิถุนายน 2564
ณ จังหวัดชุมพร นั้น กลุ่มตรวจราชการและติดตามประเมินผล
สำนักงานศึกษาธิการภาค 5 สามารถสรุปผล
เป็น 2 ประเด็น คือ 1. การดำเนินการด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และ 2. การได้รับการฉีดวัคซีนและการติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19) ดังนี้
1. การดำเนินการด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
1.1 โรงเรียนทุกสังกัดผ่านการประเมินความพร้อมของระบบ Thai Stop Covid Plus (TSCP+) และดำเนินการตาม
6 มาตรการหลัก (DMHT-RC) ได้แก่ เว้นระยะห่าง (Distancing) ใส่หน้ากาก (Mask Wearing)
ล้างมือ (Hand Washing)
คัดกรองไข้ (Testing) ลดการแออัด (Reducing)
และทำความสะอาด (Cleaning) และ 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) ได้แก่ ดูแลตนเอง (Self Care) ช้อนกลางส่วนตัว (Spoon) อาหารปรุงสุกใหม่ (Eating) ไทยชนะ (Thai Chana)
สำรวจตรวจสอบ (Check) และกักกันตัวเอง (Quarantine)
๑.2 โรงเรียนเปิดเรียน วันที่ 14 มิถุนายน 2564 ในรูปแบบ On Site แต่ในวันที่ 17 มิถุนายน 2564 ศบค.จังหวัดชุมพรมีคำสั่งให้โรงเรียนทุกแห่งหยุดการจัดการเรียนการสอนแบบ On Site ต่อมาโรงเรียน
บางแห่งที่มีความพร้อมรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19)
เริ่มทยอยเปิดเรียนในรูปแบบ
On Site
1.3 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเน้นย้ำให้ผู้บริหารโรงเรียน
ดำเนินการดังนี้
1)
วิเคราะห์สถานการณ์ภายในโรงเรียน จัดทำแผนป้องกัน และแผนเผชิญเหตุเพื่อรองรับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ตลอดจนสร้างความรู้
ความเข้าใจให้ครูและบุคลากรในโรงเรียนได้ถือปฏิบัติอย่างจริงจัง
2)
จัดเก็บข้อมูลการเดินทางของผู้ปกครอง ครอบครัว และคนใกล้ชิดของนักเรียน
เพื่อจะได้ทราบความเสี่ยงในการติดเชื้อของนักเรียน และป้องกันการแพร่เชื้อได้ทัน
กรณีมีนักเรียนติดเชื้อ
1.4 โรงเรียนศรียาภัย อำเภอเมือง
จังหวัดชุมพร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
สุราษฎร์ธานี ชุมพร จัดการเรียนการสอนแบบ Online ตั้งแต่วันที่
1-30 มิถุนายน 2564 ซึ่งเป็นรูปแบบที่รวมถึงการกำกับ ติดตาม
การวัดและประเมินผล และรายงานผลการสอนของครูด้วย
โรงเรียนมีการพัฒนาครูให้มีความรู้ในการจัดการเรียนการสอนรูปแบบ Online และการติดตามช่วยเหลือนักเรียนที่ไม่มีความพร้อมในการเรียนรูปแบบ Online เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนดังกล่าวเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
วันที่ 1-2 กรกฎาคม 2564 โรงเรียนจัดการเรียนการสอนรูปแบบ
Blended
Learning (Online+ On Site) โดยให้นักเรียนสลับกันมาเรียนตามเลขที่คี่
- คู่
วันที่ 5 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป โรงเรียนจัดการเรียนการสอนรูปแบบ On Site นักเรียนทุกคนมาเรียนที่โรงเรียน
1.5 ศบค. จังหวัดชุมพร กำหนดเปิดภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2564 (รูปแบบ On Site) ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2564
1.6 ปัญหา อุปสรรค
1) ผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแล
ช่วยเหลือบุตรหลานในเรื่องการเรียน เนื่องจากต้องทำงานในช่วงเวลาที่บุตรหลานเรียนออนไลน์
2) นักเรียนขาดอุปกรณ์เทคโนโลยีในการเรียนออนไลน์
3) วิธีการสอนของครูในรูปแบบออนไลน์
ไม่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้
4) ครูบางคนขาดทักษะการใช้งานแอพลิเคชั่นในการสอนออนไลน์
2. การได้รับการฉีดวัคซีนและการติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19)
2.1 บุคลากร (ครู
บุคลากรในโรงเรียนและหน่วยงาน) สังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัดชุมพร
มีจำนวน 6,420 คน ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว จำนวน 364 คน คิดเป็นร้อยละ 5.67 โดยมีผู้ไม่ประสงค์รับวัคซีน
จำนวน 97 คน คิดเป็นร้อยละ 1.51 ทั้งนี้
สามารถจำแนกเป็นรายหน่วยงานได้ดังนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 16 มิถุนายน 2564)
หน่วยงาน |
จำนวนครู บุคลากร |
ผู้ได้รับวัคซีนแล้ว |
ผู้ไม่ประสงค์ |
||
จำนวน |
ร้อยละ |
จำนวน |
ร้อยละ |
||
1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
(สพป.) |
3,648 |
169 |
4.63 |
51 |
1.40 |
2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
(สพม.) |
1,070 |
1 |
0.09 |
- |
- |
3. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.) |
208 |
2 |
0.96 |
- |
- |
4. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
(สช,) |
785 |
106 |
13.50 |
- |
- |
5. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) |
536 |
35 |
6.53 |
- |
- |
6. สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
(กศน.) |
142 |
26 |
18.31 |
42 |
29.58 |
7. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชุมพร
(ศธจ.ชุมพร) |
31 |
25 |
80.65 |
4 |
12.90 |
2.2 การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ของบุคลากร (ครู บุคลากรในโรงเรียนและหน่วยงาน)
และนักเรียน สังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัดชุมพร พบผู้ติดเชื้อเป็นครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน
3 คน
และนักเรียน จำนวน 3 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร
เขต 1 และสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร ขณะนี้ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 3 คน รักษาหายและออกจากโรงพยาบาลแล้ว
ส่วนนักเรียน จำนวน 3 คน ยังคงรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล (ข้อมูล ณ วันที่ 16 มิถุนายน 2564)
ข้อเสนอแนะของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
1) สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชุมพร ต้องประสานและซักซ้อมความเข้าใจกับหน่วยงานราชการ
ในพื้นที่ ในการดำเนินการตามมาตรการการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
อย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง มีการจัดทำแผนเผชิญเหตุ
และมีการรายงานข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
2) โรงเรียนควรประเมินความพร้อมของระบบ Thai Stop Covid Plus (TSCP+)
อย่างจริงจังใน
ทุกเดือน เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19) ตลอดเวลา
3)
หน่วยงานต้นสังกัดและโรงเรียนต้องจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนได้เรียนมากที่สุด
ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และมีการติดตาม
ประเมินผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ไม่เข้มข้นมากนัก
บันทึข้อมูลโดย: